วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกกฤษณา

เดินมาพากันชมพฤกษาสูง
ยางยูงแก้วเกดกฤษณา
กระลำพักสักสนคนทา
ต้นพะวาขานางยางทราย
อิเหนา : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตราด
ชื่อสามัญ : Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria subintegra Ding Hau
วงศ์ : THYMELAEACEAE
ชื่ออื่น : กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้นออกมาทำหน้าที่ ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า &กฤษณา" มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
ถิ่นกำเนิด : พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น