วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกปีบ

พอเข้าป่าพาใจให้ชื่น
หอมรื่นดอกดวงพวงบุปผา
สาวหยุดพุดจีบปีบจำปา
กรรณิการ์มหาหงส์ชงโค
อิเหนา : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2
ดอกไม้ประจำจังหวัด ปราจีนบุรี
ชื่อสามัญ Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3 นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตปลายกลีบดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมืยติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด ไทย, พม่า

ดอกสายหยุด

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Desmos chinensis วงศ์ : ANNONACEAF ชื่อไทยพื้นเมือง : สายหยุด วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง : อิเหนา, รามเกียรติ, นิราศนรินทร์, นิราศธารโศก, เงาะป่า, ลิลิตตะเลงพ่าย กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง สายหยุดเป็นไม้เลื้อยกิ่งไม้ยื่นต้น มีเถาหรือต้นใหญ่แข็งแรง สามารถเลื้อยพันเกาะต้นไม้หรือสิ่งอื่นไปได้ไกลตั้งแต่ 5 – 8 เมตร มักแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณส่วนยอด และแผ่สาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง ใบสีเขียวเข็ม รูปรีขอบขนาดปลายใบแหลม ออกใบสลับกันตรงข้ามตามข้อต้นขนาดใบยาวประมาณ 12 – 14 เซนติเมตร ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ตามข้อต้นโคนก้านใบ และตามตาติดกับกิ่งหรือลำต้น ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกระดังงาไทย กลีบเล็กยาวดอกละ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะบิดงออย่างดอกกระดังงาไทย เมื่ออ่อนเป็นดอกสีเขียว และเมื่อแก่จัดหรือบานเต็มที่ดอกจะมีสีเหลือง จะออกดอกเป็นระยะตลอดปี ดอกไม้ชนิดนี้ส่งกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นจะค่อยลดกลิ่นหอมลงและหมดกลิ่นเมื่อใกล้เที่ยงวัน พันธุ์ไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเพาะเมล็ดหรือตอน แต่ก็เป็นไม้ที่ตอนออกรากยาก และตายง่ายกว่าต้นที่ปลูกจากเมล็ด เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งการปลูกบนที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง ในสภาพดินอันชุ่มชื้น เมื่อปลูกได้โตพอควรแล้ว ก็ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องปุ๋ยเท่าใดนัก แต่เมื่อต้นยังเล็ก ๆ อยู่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยหมักไว้บ้าง เป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตช้า ปลูกโดยการเพาะเมล็ดและบำรุงเต็มที่ประมาณ 3 – 4 ปี จึงจะมีดอก
สายหยุดเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง และมีกล่าวถึงอยู่ในวรรณคดีไทยมากที่สุด แต่ชื่อพฤกษศาสตร์ของสายหยุดฟังดูเหมือนไม้เมืองจีนได้อย่างไรก็ไม่ทราบ

ดอกรสสุคนธ์

มะลิวันพันกอพฤกษาดาด
เหมือนผ้าลาดขาวละออหนอน้องเอ๋ย
รสสุคนธ์ขึ้นเป็นดงอย่าหลงเลย
กำลังเผยกลีบเกสรสลอนชู
เงาะป่า : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetracera loureiri Pierre.
ตระกูล Dilleniaceae
ชื่อสามัญ -
ถิ่นกำเนิด ไทย
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง โคนลำต้นใหญ่ได้ถึง 15 เซนติเมตร และเลื้อยได้ใกลถึง 8 เมตรกิ่งออ่นและยอดออ่นมีขนแข็งสั้นๆสากคายมือ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับถึงขอบขนาน กว้าง 4-7 เซนติเมตรยาว 7-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมทู่ถึงกลมมน โคนใบแหลมถึงสอบแคบ ขอบใบจัก สีเขียวเข้ม เนื้อใบสาก เส้นกลางใบและเส้นใบด้านบนเป็นรอยลึก เส้นใบ 10-15 คู่ ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ช่อดอกสีขาวยาว 5-15 เซนติเมตร ออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกยอ่ยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ขนาดเล็กติดทนอยู่จนเป็นผล เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร กลีบดอกร่วงงาย มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก คลายเส้นด้ายสีขาว ดอกเริ่มบานและส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำแจนถึงช่วงกลางวัน ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และบานวันเดียวแล้วโรย ผลค่อนข้างกลม สีส้มถึงสีแดง มี 2-3 ผล อยู่รวมกันเป็กระจุก เมล็ดรูปไข่ อยู่ในเยื่อรูปถ้วย สีแดง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ รสสุคนธ์ขาว เป็นไม้กลางแจ้ง แสงแดดจัด ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ปลูกเป็นไม้กระถางได้ดีใช้ไม้ปักให้เลื้อยไต่พันเมื่อต้นโตใหญ่เหมาะปลูกประดับซุ้มเลื้อยเกี่ยวรั้วหรือตอไม้ในที่โล่งตัดแต่งกิ่งหรือช่อดอกเก่าทิ้งมิให้รกเกินไป จะมองดูสวยงามและเร่งให้ออกดอกชุดใหม่ได้เร็วขึ้น

ดอกบุหงาตันหยง

“…โกฐกระวานกานพลูดูระบัด
กำจายกำจัดสารพันทั้งตันหยง
หอมระรื่นชื่นใจที่ในดง
พฤกษาทรงเสาวคนธ์ดังปนปรุง…”
นิราศพระแท่นดงรัง : สุนทรภู่
ชื่ออื่นๆ : Divi Divi
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Caesalpinia coriaria Willd.
วงศ์ : LEGUMINOSAE - CAESALPINIACEAE
ตันหยงเป็นไม้ต้นสูง 6- 10 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาแผ่เป็นพุ่มใบ ประกอบแบบขนนกออกสลับ ปลายมน ไม่มีก้านใบย่อยดอกช่อ สีขาวอมเขียว หรือสีเขียวอมเหลือง หอมแรง เล็ก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่งผล เป็นฝักแบน บิดงอ ออกดอกเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมการขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่งประโยชน์ ฝักมีสารฝาด ใช้ใส่แผลเปื่อย ย้อมหนังสัตว์ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน เพิ่มเติมเพลงประกอบเกี่ยวกับดอกตันหยง
เพลงบุหงาปัตตานี
คำร้อง ทำนอง สุเทพ วงศ์คำแหง
เรียบเรียงเสียงประสาน บดินทร์
ราฮิมโอ้บุหงาปัตตานีที่รักเอย เจ้างามน่าเชย น่าภิรมย์ชมชื่น
ดวงยิหวาพาใจ พี่ใฝ่ฝันทุกคืน พี่ต้องตรมขมขื่น ทุกข์ใจหมองเศร้า
โอ้บุหงาปัตตานีที่รักเอย พี่นอนละเมอใฝ่คนึงถึงเจ้า โ
อ้บุหงาพาใจให้คิดถึงไม่เบา พี่คร่ำครวญถึงเจ้า ทุกวันเวลา
โอ้บุหงาปัตตานี ฮา…….บุหงาปัตตานี พี่รักเธอ พี่รักเธอ พี่รักเธอ
พี่รักเธอยิ่งกว่าชีวา พี่ขอสัญญา พี่ขอสัญญา พี่ขอสัญญา จะรักเธอจนตาย
โอ้บุหงาปัตตานีที่รักเอย เจ้างามน่าเชย น่าภิรมย์ไม่หน่าย
โอ้บุหงาตานีพี่ขอรักไม่คลาย พี่มอบดวงฤทัย ให้กับบุหงาปัตตานี

ดอกกรรณิการ์

“… กรรณิการ์ ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
สองบ่าอ่าโนเน่ …”
วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารโศก ” ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nyctanthes arbor – tristis
ชื่อสามัญ : Night Jasmine
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบสากคาย ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบออกทิศทางตรงข้ามกัน
ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะคล้ายดอกมะลิ แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า ปลายกลีบมี ๒ แฉก ขนาดไม่เท่ากัน โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น
ผลมีลักษณะกลมแบน ขณะอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีดำ
การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง
ทางด้านสมุนไพร เปลือกให้น้ำฝาด เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง ดอกมีน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ เช่นเดียวกับมะลิ ส่วนของดอกที่เป็นหลอด สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม ใบใช้แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย และเป็นยาขมเจริญอาหาร

ดอกการเวก

“… สามกษัตริย์เที่ยวชมบุปผชาติ
ดอกดกเดียรดาษในสวนขวัญ
เกดแก้วพิกุลแกมพิกัน
จวงจันทร์ลำดวนกระดังงา …”
วรรณคดี : “ รามเกียรติ์ ”
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Artabotrys siamensis
ชื่อสามัญ : Artabotrys
ชื่อวงศ์ : Annonaceae
ชื่ออื่น ๆ : กระดังงาเถา กระดังงัว
การเวกเป็นไม้เถาขนาดกลางถึงใหญ่ เนื้อไม้แข็ง มักพบตามป่าชื้นทั่ว ๆ ไปนิยมปลูกให้เลื้อยเป็นไม้ซุ้มตามเรือนต้นไม้ หรือซุ้มประตู ใบร่มทึบ อายุยืนมาก ออกดอกตลอดปี ขึ้นได้ดีในทุกที่ทุกแห่งที่มีความชื้นพอสมควร ชอบอยู่กลางแจ้ง ลำต้นอาจมีขนาดโคนต้นใหญ่ ๘ - ๑๒ นิ้ว
ลำต้นมีผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาอมดำหรือน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นเขียวเพราะมีต้นน้ำมันกระจายอยู่
ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวจัด เป็นมัน รูปมนรี ปลายแหลม ยาวประมาณ ๖ - ๗ นิ้ว แต่กว้างกว่ากระดังงา
ดอกอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นขาว เหลืองอ่อน จนแก่จัดมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมรุนแรงและส่งกลิ่นไปได้ไกล ดอกเป็นกลีบเรียวยาวแยกจากกัน ๖ กลีบ ดอกใหญ่กว่าและกลีบดอกหนากว่ากระดังงา เมื่อดอกแก่จะร่วงเป็นผล
ผลมีลักษณะกลมรี เป็นพวง สีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เมื่อผลแก่จัดภายในผลแก่มีเมล็ดสีดำเป็นเมือก ๆ
การขยายพันธุ์ นิยมใช้กิ่งตอน เพราะโตเร็วกว่าการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

ดอกบุนนาค

พิกุลบุนนาคบาน
กลิ่นหอมหวานซ่านขจร
แม้นนุชสุดสายสมร
เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย
กาพย์เห่เรือ : พระราชนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
บุนนาค (นาคบุตร) เป็นไม้ต้นใหญ่คล้ายสารภี แต่ใบเล็กเรียวกว่า ดอกสวยคล้ายกับสารภี แต่โตกว่า ขนาดกว้างประมาณ 4-5 ซม. กลิ่นหอมเย็นกว่า เจ้าของมักเก็บตากแห้งเอาไว้ และขายให้แก่ร้านเครื่องยา ดอกออกเป็นฤดู เช่นเดียวกับสารภี
บุนนาคเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของไทยและเอเซียเขตร้อน อยู่ในวงศ์เดียวกับสารภี และมะดัน พบตามป่าชื้น เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณค่ามาก ใช้ในงานก่อสร้างได้ทุกประเภท เรือนยอดคล้ายรูปเจดีย์ ใบดกทึบ ยอดอ่อนสีแดง สวยงามมาก ดอกใหญ่สีขาว 4 กลีบ มีเกสรสีเหลือง เป็นกระจุกใหญ่อยู่ตรงกลาง ดอกบานเต็มที่มีขนาดใหญ่ 5-7 ซม. ขยายพันธุ์โดยวิธีตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด เกสรดอกบุนนาคใช้ผสมทำยาหอมบำรุงหัวใจ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาชูกำลัง น้ำมันจากเมล็ดใช้จุดตะเกียงและทำเครื่องสำอาง
พิกุลบุนนาคมากมี
ตามหว่างวิถีขาวสด
ชมพลางทางเร่งรีบรถ
เลียบตามบรรพตคีรี
อิเหนา..พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2